แนวข้อสอบ เอกนิติศาสตร์

แนวข้อสอบกฎหมายอาญา

1. การกระทำความผิดข้อใดในต่อไปนี้ ไม่ถือว่าได้กระทำลงในราชอาณาจักร

            ก. นายเอกได้ชกต่อยนายโท บนเครื่องบินสัญชาติไทย

            ข. นายเอได้ยิงนายบี ซึ่งเป็นคนไทยในประเทศอังกฤษ

            ค. นายจันทร์ยิงปืนจากฝั่งพม่า มาถูกนายอังคารในฝั่งไทย

            ง. นาย ก อยู่ประเทศ จีน ได้ใช้ให้นาย ข ยิง นาย ค ในประเทศไทย

คำตอบ :  ข้อ ข. เพราะการกระทำในเรือ/ อากาศยานไทย (ไม่ว่าอยู่ที่ใด) ผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน กระทำนอกราชอาณาจักร แต่ความผิดหลักกระทำในราชอาณาจักร ก็ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร

2. นายอาทิตย์ ทำงานเป็นเลขานุการทูตที่ประเทศสิงคโปร์ ได้ยักยอกเงินซึ่งตนมีหน้าที่ดูแลไป ผู้บังคับบัญชาทราบจึงเรียกพบ แต่นายอาทิตย์ กลับเสนอเงินเพื่อปิดปาก ต่อมากระทรวงต่างประเทศร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดี กรณีนี้ต้องรับโทษในราชอาณาจักร หรือไม่

            ก. รับโทษในความผิดฐานยักยอก

            ข. รับโทษในความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน

            ค. รับโทษทั้ง ข้อ ก  และ ข้อ ข

            ง. ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร

คำตอบ :  ข้อ  ก. ความผิดฐานเป็นเจ้าของพนักงานยักยอกเงินตาม ม. 147 เป็นความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 9 เมื่อกระทำผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามที่ระบุได้ย่อมต้องรับโทษในราชอาณาจักร ( มาตรา 9)

3. นายหนึ่งได้ขอยืมเงิน นายสองในขณะที่อยู่ในขณะที่อยู่บริเวณห้องผู้โดยสารขาออกของประเทศอินเดีย นายสองไม่ให้จึงทะเลาะกันขณะนั้นเอง นายหนึ่งได้ถือโอกาสล้วงเอาเงินนายสองไปเมื่อมาถึงประเทศ นายสองได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบถาม นายหนึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักร หรือไม่

            ก. ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะไม่ได้กระทำในประเทศไทย

            ข. ไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะไม่ได้กระทำในอากาศยานไทย

            ค.  ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะนายหนึ่งเป็นคนไทย และนายสองได้ร้องทุกข์แล้ว

            ง. ต้องได้รับโทษในราชอาณาจักร เพราะห้องผู้โดยสารขาออกถือเป็นเขตสากล

คำตอบ :  ข้อ  ค. เป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นอกราชอาณาจักร เมื่อผู้กระทำความผิดเป็นคนไทยและผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนผู้กระทำความผิดจึงต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร มาตรา 8 (ก) (8)

4. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการ “ รอการลงโทษ ”

            ก. ศาลฟ้องต้องโทษจำคุก เป็นรายกระทง ไม่เกิน 3 ปี

            ข. ต้องไม่เคยจำคุกจริงๆมาก่อน

            ค. ต้องไม่เคยรอลงโทษจำคุกมาก่อน

            ง. ศาลจะใช้ดุลยพินิจเป็นเรื่องๆไป

คำตอบ :  ข้อ ค. การรอลงโทษ นั้นแม้จำเลยละเลย รอการลงโทษมาก่อนศาลก็สามารถที่จะรอการลงโทษได้อีกในคดีหลัง

5. ในกรณีใดต่อไปนี้ ศาลไม่สามารถเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน

            ก. เคยต้องโทษจำคุกในคดีเจตนา

            ข. เป็นคดีลหุโทษ

            ค. ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน

            ง. เป็นคดีประมาท

คำตอบ :  ข้อ  ก. หากเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังแทนจำคุกก็ได้

6. ข้อใดมิใช่ความหมายของการกระทำโดยเจตนาทางกฎหมายอาญา

            ก. เจตนาประสงค์ต่อผล

            ข. เจตนาเล็งเห็นผล

            ค. เจตนากระทำต่อผล

            ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ :  ข้อ  ค. การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สึกในการกระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

7. นายเอก เป็นครูสอนว่ายน้ำ มีหน้าที่ดูแล นักเรียนที่มาเรียนว่ายน้ำ นายเอกเห็นเด็กชายบี กำลังจะจมน้ำ แต่ก็ไม่ได้เข้าไปช่วยเพราะมีเรื่องโกรธเคืองกับบิดาของเด็กชาย บี ดังนั้นนายเอกกระทำความผิดเพราะเหตุใด

            ก. ประมาท

            ข. ละเว้น

            ค.  งดเว้น

            ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ :  ข้อ  ค. นายเอกมีหน้าที่จะต้องดูแลนักเรียนแต่ไม่ช่วย ถือว่าเป็นการกระทำโดยงดเว้น

8. บุคคลใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง ถือว่าเป็นการกระทำประเภทใด

            ก. โดยสำคัญผิด

            ข.  โดยพลาดไป

            ค. โดยประมาท

            ง. โดยจำเป็น

คำตอบ :  ข้อ  ข. โดยพลาด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 60

9. นายเอกเห็นรถไฟ บรรทุกคนเต็มโบกี้ นึกสนุกจึงใช้ปืนยิงขึ้นไปบนโบกี้รถไฟ การกระทำของนายเอก ถือว่าเป็นเจตนาประเภทใด

            ก. เจตนา โดยประสงค์ต่อผล

            ข. เจตนา โดยประมาทเลินเล่อ

            ค. เจตนาเล็งเห็นผล

            ง. เจตนาโดยพลาดไป

คำตอบ :  ข้อ  ค. การที่เห็นคนอยู่เต็มโบกี้รถไฟนั้น นายเอกยิงปืนขึ้นไปย่อมที่จะถูกคนได้แน่นนอนดังนั้นจึงเป็นเจตนาเล็งเห็นผล

10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความผิดอาญาแผ่นดิน

            ก. ลักทรัพย์

            ข. ฉ้อโกง

            ค. ยักยอก

            ง.  บุกรุก

คำตอบ :  ข้อ  ก. เพราะความผิดฐาน ฉ้อโกง ยังยอก บุกรุก  เป็นความผิดอันยอมความกันได้ (เป็นความผิดต่อส่วนตัว) แต่ความผิดฐานลักทรัพย์นั้นยอมความไม่ได้ เพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว

 

***
  แนวข้อสอบมีทั้งหมด 2 แบบ  ***

           – แบบปริ้นอ่านได้เลย ราคาเพียง 399 บาท 
( ได้รับเนื้อหา หลังโอน 1-3 ชั่วโมง )

   – แบบหนังสือ+MP3 ราคา 699 บาท  
(ได้รับ 1-2 วันทำการ)  ( ส่งฟรี J&T )

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<

>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<

>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 
 


แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1. ชาวบ้านนำเงินไปร่วมกันทอดผ้าป่าให้สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งเป็นจำนวน 150,000 บาท ต่อมาเงินจำนวนดังกล่าวสูญหายไป ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้เสียหาย

            ถ้า ก  เป็นเจ้าคณะสงฆ์ ส่วน ดำ เขียว แดง เหลือง ขาว เป็นผู้ที่ ก  เลือกให้เป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบเงินดังกล่าว

            ก. เจ้าคณะสงฆ์

            ข. ชาวบ้านที่ร่วมทำบุญ

            ค. ผู้ที่ถูกรับเลือกให้เป็นกรรมการ

            ง. ข้อ ก  และ 

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะสำนักสงฆ์มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่น จึงไม่มีบุคคลใดเป็นผู้จัดการแทนหรือผู้แทนอื่นๆ ที่จะมีอำนาจจัดการแทนสำนักสงฆ์ได้ แต่เจ้าคณะสงฆ์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเงินผ้าป่าที่ชาวบ้านนำไปทอดให้สำนักสงฆ์รวมทั้งผู้ที่เจ้าคณะสงฆ์เลือกให้เป็นกรรมการดูแลรับผิดชอบเงิน ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสำนักสงฆ์หากเงินดังกล่าวสูญหายไป เจ้าคณะสงฆ์และกรรมการดูแลเงินดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหาย

2. นายเสือและนายสิงห์เป็นบุตรนอกกฎหมายของนายนก นายเสืออายุ 18 ปี ส่วนนายสิงห์ อายุ 16 ปี ทั้งเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ต่อมานายสิงห์ถูกนายมือทำร้ายจนตาย ต่อไปนี้ผู้ใด ไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนนายสิงห์ผู้ตาย

            ก. นายนก

            ข. นายเสือ

            ค. ถูกทุกข้อ

            ง. ไม่มีข้อถูก

คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะพี่ชายของผู้ตายมิใช่บุคคลตาม ป.วิ.อ. มาตรา  5(2.) ส่วนบิดานั้นแม้จะเป็นบิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายก็มีอำนาจจัดการแทนบุตรได้ เพราะกำหมายถือตามความเป็นจริงโดยสายโลหิต

3. ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์การขอออกหมายขังผู้ต้องหา

            ก. ผู้ต้องหานั้นไม่ใช่ผู้ถูกจับและมิได้มีการออกหมายจับ

            ข. ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว

            ค. ผู้ต้องหาถูกเรียกหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง

            ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะหลักเกณฑ์การขอออกหมายขังผู้ต้องหา มีดังนี้

            1. ผู้ต้องหาถูกเรียกหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง

            2. ผู้ต้องหานั้นไม่ใช่ผู้ถูกจับและมิได้มีการออกหมายจับ

            3. ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว

            4. ต้องมีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 71

4. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจ ผู้ใดเป็นผู้เสียหาย

            ก. ผู้เยาว์

            ข. บิดา

            ค. มารดา

            ง.  ถูกทั้ง ข และ ค

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยนั้น มีองคืประกอบความผิดร่วมกันระหว่างการหนึ่งว่า “ ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล … ” ซึ่งเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง คือ อำนาจปกครองของบิดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์นั่นเอง

5. ข้อใด ไม่ใช่ หลักเกณฑ์ในเรื่องผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

            ก. พนักงานอัยการยื่นฟ้องแล้ว ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

            ข. ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ทั้งคดีความผิดส่วนตัวและคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว

            ค. ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำ พิพากษา

            ง. ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะหลักเกณฑ์ในเรื่องผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ประการหนึ่ง คือ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ซึ่งต่างกับการที่พนักงานอัยการร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายที่จะยื่นระยะใดก็ได้ก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดคดีเสร็จเด็ดขาด

6. ข้อใด ไม่ใช่ หลักเกณฑ์ในเรื่องการรวมพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกัน

            ก. ต้องเป็นคดีอาญาเรื่องเดียวกัน

            ข. คดีอาญาเรื่องเดียวกันนั้น ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นเดียวกัน         หรือต่างศาลกัน

            ค.  ต้องสั่งรวมพิจารณาในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

            ง. กรณีที่ยื่นฟ้องจำเลยต่างศาลกันศาลจะสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับ           ความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน

คำตอบ :  ข้อ  ค. เพราะ หลักเกณฑ์ในเรื่องการรวมพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกัน มีดังนี้

            1. ต้องเป็นคดีอาญาเรื่องเดียวกัน

            2. คดีอาญาเรื่องเดียวกันนั้น ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นเดียวกัน         หรือต่างศาลกัน

            3. กรณีที่ยื่นฟ้องจำเลยต่างศาลกันศาลจะสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับ          ความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน

            4. ศาลนั้นๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการ หรือโดยโจทก์        ยื่นคำร้องขอ

            5. ต้องสั่งรวมพิจารณาในระยะใด ระหว่างพิจารณาก่อนมีคำพิพากษา

7. ในการงดการสอบสวนคดีอาญา มีเหตุกี่กรณี

            ก.   2   กรณี

            ข.  5    กรณี

            ค.   3   กรณี

            ง.   7    กรณี

คำตอบ :  ข้อ   ก. เพราะมีเหตุ 2 กรณี คือ

            1. กรณีที่ผู้ต้องหาวิกลจริตให้งดการสอบสวนไว้ก่อนจนกว่าจะหาย

            เมื่อสอบสวนแล้วไม่ปรากฏว่าใครเป็นคนร้าย ไม่รู้ตัวผู้ร้ายให้ปฏิบัติ ดังนี้

            คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวน

            คดีที่มีโทษจำคุกเกิน  3 ปี ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าควรงดการสอบสวนแล้วส่ง        พนักงานอัยการ

8. ข้อใดต่อไปนี้พนักงานสอบสวนไม่สามารถทำการสอบสวนได้

            ก. ท้องที่เกิดเหตุ

            ข. ท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่

            ค. ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ

            ง. ท้องที่ที่ผู้เสียหายมีที่อยู่

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะพนักงานสอบสวนสามารถทำการสอบสวนได้ 3 ท้องที่เท่านั้น คือ

            1. ท้องที่เกิดเหตุ

            2. ท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่

            3. ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ

9. บุคคลใดมีอำนาจสั่งโอนในเรื่องการโอนคดีในกรณีไม่ปกติ

            ก. ประธานศาลชั้นต้น

            ข. ประธานศาลฎีกา

            ค. ประธารศาลอุทธรณ์

            ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

คำตอบ :  ข้อ  ข. เพราะการโอนคดีในกรณีที่ไม่ปกตอตาม  ป.วิ.อ. มาตรา 26 คือ ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจเหนือคดีนั้นก็เพื่อให้เรียบร้อยแต่เกิดเหตุพิเศษ เช่น จำนวนจำเลย ฐานะจำเลย ฝ่ายผู้เสียหายจึงดำเนินการขอโอนคดี ซึ่งในการโอนคดีในลักษณะนี้สามารถโอนไปที่ไหนก็ได้แต่ผู้มีอำนาจสั่งคือ ประมุขของตุลาการคือประธานศาลฎีกาเท่านั้น